Unlock the Full Potential of Your 3D Measurement

 

การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อระบบดิจิทัล

ปลดปล่อยศักยภาพการวัด 3 มิติอย่างเต็มพิกัด
 

 

การจัดการข้อมูลและการเชื่อมต่อระบบดิจิทัล

ปลดปล่อยศักยภาพการวัด  
3 มิติอย่างเต็มพิกัด  

กำหนด สร้าง และจัดการวงจรข้อมูลการวัด 3 มิติให้ดีขึ้นด้วยระบบดิจิทัลเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือกัน และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ (และเพิ่มผลกำไร!) ให้กับองค์กรการผลิต 
 

ในแวดวงการผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้ ทุกขั้นตอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะสร้างข้อมูลที่มีค่าขึ้นมาจำนวนมาก ซึ่งมักเข้าถึงและนำมาใช้ประโยชน์ได้ยาก ระบบดิจิทัลที่จัดการการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างระบบและบุคคลจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้ขั้นตอนการทำงานมีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันทำได้อย่างราบรื่น และช่วยให้มั่นใจถึงการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล 

ตัวอย่างเช่น ลองนึกถึงไฟล์ข้อมูลการวัด 3 มิติที่สร้างโดยกระบวนการควบคุมคุณภาพ ที่น่าแปลกใจก็คือ บริษัทส่วนใหญ่ยังคงจัดเก็บข้อมูลที่ประเมินค่ามิได้นี้ไว้ในดิสก์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์การวัด 3 มิติ แนวทางแบบนี้ก่อให้เกิดปัญหาข้อมูลแยกส่วน ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้มากขึ้นตามมา เมื่อมีข้อมูลการวัด 3 มิติ ขนาดไฟล์สามารถขยายเป็นระดับกิกะไบต์ได้อย่างรวดเร็วสำหรับรองรับโปรเจ็กต์การตรวจวัดหลายชิ้นงาน ในการจัดการไฟล์ด้วยตัวเอง ก่อนอื่นจะต้องคัดลอกไฟล์และซิปไฟล์ไปพร้อมกับคำแนะนำในการดาวน์โหลดที่จัดทำขึ้นมาสำหรับการเรียกดูข้อมูล จากนั้นสมาชิกในทีมทุกคนจะต้องอ่านและทำตามคำแนะนำ คัดลอกไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ของตัวเอง และ unzip ไฟล์ ซึ่งก่อให้เกิดข้อมูลซ้ำซ้อนจำนวนมาก ทุกขั้นตอนที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลนี้ล่าช้าและซับซ้อนจะเพิ่มต้นทุนในการแก้ไขปัญหาและมีความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์  

 

ผลที่ตามมาโดยตรงจากการจัดการไฟล์ในลักษณะนี้คือ ข้อมูลการตรวจวัดไม่ตรงกับบริบท หากคุณมีข้อสังเกต คำแนะนำ หรือการแก้ไขที่จะสื่อสารกับทีม คุณจะต้องส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่แตกต่างกัน และแม้ว่าการหารือจะเป็นรากฐานของการประสานงานและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ แต่ว่าการหารือ
ดังกล่าวไม่ได้ผูกติดอยู่กับข้อมูลการวัด 3 มิติ 

การมีตัวเลือกในการรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลการวัด 3 มิติผ่านระบบดิจิทัลอย่างชาญฉลาดเผยให้เห็นข้อเสียและการขาดประสิทธิภาพของการแชร์ข้อมูลด้วยตัวเอง อีกทั้งยังช่วยเร่งความเร็วในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ขั้นตอน ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกระบวนการ การตรวจสอบความถูกต้อง และการผลิต

สร้างวงจรข้อมูลดิจิทัล

 

การติดตามอายุการใช้งานของข้อมูลบางประเภทช่วยให้มองเห็นและเข้าใจข้อได้เปรียบของการนำระบบดิจิทัลมาใช้

ตัวอย่างเช่น บริษัท OEM ด้านอากาศยานต้องการปรับปรุงการสื่อสารที่สำคัญกับองค์กรซัพพลายเออร์ที่อยู่ห่างไกลออกไป ด้วยระบบจัดการข้อมูลแบบดิจิทัล ซัพพลายเออร์สามารถแบ่งปันข้อมูลการวัด 3 มิติกับ OEM ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการประสานงานเป็นอย่างมาก
จากนั้น OEM จึงสามารถระบุ กำหนด และแชร์การปรับเปลี่ยนดีไซน์ที่สำคัญที่ช่วยให้กระบวนการทางวิศวกรรมรวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งตรวจจับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งอาจเพิ่มต้นทุนอีกมากหากต้องแก้ไขภายหลังในขั้นตอนการผลิต งานทั้งหมดนี้เกิดขึ้นระหว่างทีมออกแบบและทีมผลิตที่อยู่คนละบริษัทและคนละประเทศ!  

หรือลองคิดดูว่า ข้อมูลการวัด 3 มิติของชิ้นส่วนหนึ่งจะมีข้อมูลอันมีค่าสำหรับทีมออกแบบ ทีมวิศวกรรม ทีมผลิต และทีมควบคุมคุณภาพได้อย่างไร เมื่อจัดการการควบคุมขนาดในการพัฒนาชิ้นส่วนทุกชิ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ละทีมจะสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องใช้จากแหล่งการวัดมากมายในรูปแบบที่ต้องการ โดยทำทั้งหมดนี้ได้จากแพลตฟอร์มเดียว

การอัปเดต การบันทึก และการเรียกดูข้อมูลการวัด 3 มิติที่มีค่าดังกล่าวในภายหลังเมื่อต้องการยังช่วยเพิ่มมูลค่าอย่างสูง ส่วนความรู้ด้านการผลิตก็ได้รับการจัดเก็บและจดบันทึกเป็นข้อมูลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทำซ้ำล่าสุด (และไม่ต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น) ยังเป็นจุดเริ่มต้นใหม่สำหรับโปรเจ็กต์ในอนาคต

แนวคิดที่ว่าข้อมูลองค์กรเป็นหน่วยข้อมูลที่แยกกันไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกต่อไป เพราะจริงๆ แล้ว ข้อมูลแทรกซึมอยู่ในทุกแง่มุมของชีวิตคนเรา ยิ่งไปกว่านั้น ยังเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนด้วย ในทุกองค์กรจะมีชุดข้อมูลหนึ่งที่จัดการโดยคนจำนวนมากและส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในหลายแผนก ดังนั้น ข้อมูลองค์กรจึงจำเป็นต้องพัฒนามาเป็นเอนทิตีที่มีความเป็นเอกภาพและปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาที่หมุนเวียนผ่านระบบข้อมูล

ยกระดับประสิทธิภาพแบบก้าวกระโดดด้วยการควบคุมขนาดทั่วทั้งองค์กร 

 

จากแนวคิดที่ดีขึ้นนำไปสู่เครื่องมือที่ดีขึ้น จากเครื่องมือที่ดีขึ้นนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น 

รายงานจากบริษัท Deloitte ระบุว่าองค์กรที่มีการควบคุมคุณภาพโดยใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสามารถลดข้อบกพร่องในการผลิตได้ถึง 30% ตัวเลขที่ดีขึ้นมากขนาดนี้ต้องการกระบวนการดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพในการรวบรวม แชร์ และวิเคราะห์ข้อมูล และช่วยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพได้ตลอดกระบวนการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์  

การใช้ระบบจัดการข้อมูลดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสามารถปฏิวัติวิธีการทำงานของบริษัทผู้ผลิตและปลดปล่อยศักยภาพการวัด 3 มิติได้อย่างเต็มพิกัด การสร้าง กำหนด และจัดการวงจรข้อมูลการวัด 3 มิติด้วยระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรการผลิตบรรลุความสำเร็จในระดับพลิกโฉมองค์กร และการนำแนวทางดิจิทัลมาใช้กับวงจรข้อมูลช่วยให้องค์กรการผลิตทุกขนาดได้รับประโยชน์มากมาย  

อย่างแรกและสำคัญที่สุด ความสามารถในการติดตามและจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรมอบพลังให้บริษัทตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถในการสกัดข้อมูลเชิงลึกที่มีค่ามาจากข้อมูล นำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ และในที่สุดจะส่งผลให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรการผลิตสามารถทำกำไรได้มากขึ้นในที่สุด 

นอกจากนี้ ระบบการจัดการข้อมูลแบบดิจิทัลยังส่งเสริมความร่วมมือโดยการเชื่อมโยงระบบที่แตกต่าง และบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามาในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างราบรื่น แทนที่จะต้องแชร์ข้อมูลด้วยตัวเองและสร้างข้อมูลซ้ำซ้อน ทีมสามารถเข้าถึงและทำงานจากข้อมูลล่าสุดที่ถูกต้องแม่นยำชุดเดียวกัน กำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม 

โซลูชันการจัดการข้อมูลอย่าง PolyWorks|DataLoop™ นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบดิจิทัลสมัยใหม่มาสู่กระบวนการ รวมไปถึงไฮเปอร์ลิงก์ การติดแท็ก และการแจ้งเตือน นอกจากนี้ ยังมีเธรดการพูดคุยภายในทุกโปรเจ็กต์การตรวจวัด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง
ผู้ประสานงานภายในและภายนอก ไม่ว่าจะตัวอยู่ห่างกันเพียงใดก็ตาม 

เริ่มสร้างความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูลดิจิทัลที่แข็งแกร่ง

PolyWorks|DataLoop ปฏิวัติการจัดการข้อมูล โดยช่วยให้วิศวกรและผู้มีอำนาจตัดสินใจสามารถเข้าถึงข้อมูลการวัดจำนวนมากจากหลายแหล่งได้อย่างราบรื่น รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลการวัด 3 มิติที่ได้จากซัพพลายเออร์ผ่านระบบที่ปลอดภัย การเรียกดูและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างสะดวกนี่เองที่ทำให้องค์กรตัดสินใจได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น และปรับปรุงกระบวนการให้เหมาะสม ดังนั้น มาก้าวล้ำหน้าด้วย PolyWorks|DataLoop ที่จะเปลี่ยนโฉมวิธีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการวัดของคุณ